วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผ้าหม้อห้อม

ประวัติความเป็นมาของผ้าหม้อห้อม
ความเป็นมาของผ้าหม้อห้อม เกี่ยวข้องกับประวัติของหมู่บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดแพร่
คำว่า หม้อห้อม เป็นคำในภาษาไทยพื้นเมืองของชาวไทยภาคเหนือ มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกันคือคำว่า หม้อ และคำว่า ห้อม หม้อ หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำหรือของเหลวชนิดต่างๆ ห้อม หมายถึงพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง (ที่ใช้ใบและกิ่งเมื่อนำ มาหมักในหม้อตามกรรมวิธี แล้วเมื่อนำมาย้อมผ้าดิบให้เป็นสีน้ำเงินจึงเรียกกันว่าผ้าหม้อห้อม)
ผ้าหม้อห้อม ได้ชื่อว่าเป็นผ้าที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวทุ่งโฮ้งและของคนจังหวัดแพร่ การแต่งกายชุดพื้นเมืองด้วยผ้าหม้อห้อมถือว่าเป็นการแต่งกายประจำถิ่นของชาวทุ่งโฮ้ง ซึ่งผู้ชาย นิยมสวมใส่ เสื้อคอกลม แขนสั้นผ่าอกตลอดติดกระดุมหรือใช้สายมัด เรียกว่าเสื้อ กุย เฮงและใส่กางเกงขาก๊วยที่เรียกว่า เตี่ยวกี มีผ้าขาวม้าคาดเอวแทนเข็มขัดส่วน ผู้หญิง จะเป็นเสื้อคอวี และคอกลม แขนยาวทรงกระบอกผ่าอกตลอด ติดกระดุม และสวมถุงซึ่งเรียกว่า ซิ่นแหล้ มีลักษณะเป็นพื้นสีดำมีสีแดงขาดตรงเชิงผ้าสองแถบและขอบเอวสีแดง
รูปแบบผ้าหม้อห้อมที่ทันสมัย
ในปัจจุบันผ้าหม้อห้อมที่ผลิตในจังหวัดแพร่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้เข้ากับสมัยนิยมมีความหลากหลาย ใช้ได้ในหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย หรือ ของใช้และของตกแต่ง
ผ้าหม้อห้อมที่มีการตกแต่งลวดลาย
ชุดหม้อห้อมเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น