วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแพร่ที่อยากแนะนำ

อุทยานแห่งชาติแม่ยมอุทยานแห่งชาติแม่ยม พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าสักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่งดงามมาก นับได้ว่าเป็นตัวแทนป่าไม้สักของภาคเหนือได้อย่างดียิ่ง รวมทั้งไม้ที่มีค่าต่างๆ จำนวนมาก และทิวทัศน์ที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ หรือ 454. 75 ตารางกิโลเมตร

ในปลายปี พ.ศ. 2525 นายณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดแพร่) ดำริให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า จังหวัดแพร่ ซึ่งมีไม้สักที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอื่นๆ ที่สวยงามหลายแห่ง ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้นปรากฏว่า บริเวณป่าแม่ปุงและป่าน้ำงาว น้ำสวด มีป่าสักที่สมบูรณ์ยิ่งในภาคเหนือ สภาพป่าโดยทั่วไปสมบูรณ์ดี เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยม ทั้งยังมีทิวทัศน์ และเอกลักษณ์ทาง ธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ปุง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่ยม” เพื่อให้เหมาะสมตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีแม่น้ำยมไหลผ่าน และลักษณะเด่นที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติแม่ยมแห่งนี้เกิดจากแม่น้ำยม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 103 ตอน
ที่ 34 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2529 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 51 ของประเทศ

การเดินทาง
อยู่ห่างจากอำเภอสองไปตามทางหลวง 1154 ประมาณ 20 กิโลเมตร

บริเวณแก่งเสือเต้น
มีเต้นท์บริการสำหรับนักท่องเที่ยว


ทะเลหมอกในยามเช้า
ลักษณะของแก่งเสือเต้นที่พร้อมให้นักท่องเที่ยวได้ล่องแก่ง


ผ้าหม้อห้อม

ประวัติความเป็นมาของผ้าหม้อห้อม
ความเป็นมาของผ้าหม้อห้อม เกี่ยวข้องกับประวัติของหมู่บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดแพร่
คำว่า หม้อห้อม เป็นคำในภาษาไทยพื้นเมืองของชาวไทยภาคเหนือ มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกันคือคำว่า หม้อ และคำว่า ห้อม หม้อ หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำหรือของเหลวชนิดต่างๆ ห้อม หมายถึงพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง (ที่ใช้ใบและกิ่งเมื่อนำ มาหมักในหม้อตามกรรมวิธี แล้วเมื่อนำมาย้อมผ้าดิบให้เป็นสีน้ำเงินจึงเรียกกันว่าผ้าหม้อห้อม)
ผ้าหม้อห้อม ได้ชื่อว่าเป็นผ้าที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวทุ่งโฮ้งและของคนจังหวัดแพร่ การแต่งกายชุดพื้นเมืองด้วยผ้าหม้อห้อมถือว่าเป็นการแต่งกายประจำถิ่นของชาวทุ่งโฮ้ง ซึ่งผู้ชาย นิยมสวมใส่ เสื้อคอกลม แขนสั้นผ่าอกตลอดติดกระดุมหรือใช้สายมัด เรียกว่าเสื้อ กุย เฮงและใส่กางเกงขาก๊วยที่เรียกว่า เตี่ยวกี มีผ้าขาวม้าคาดเอวแทนเข็มขัดส่วน ผู้หญิง จะเป็นเสื้อคอวี และคอกลม แขนยาวทรงกระบอกผ่าอกตลอด ติดกระดุม และสวมถุงซึ่งเรียกว่า ซิ่นแหล้ มีลักษณะเป็นพื้นสีดำมีสีแดงขาดตรงเชิงผ้าสองแถบและขอบเอวสีแดง
รูปแบบผ้าหม้อห้อมที่ทันสมัย
ในปัจจุบันผ้าหม้อห้อมที่ผลิตในจังหวัดแพร่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้เข้ากับสมัยนิยมมีความหลากหลาย ใช้ได้ในหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย หรือ ของใช้และของตกแต่ง
ผ้าหม้อห้อมที่มีการตกแต่งลวดลาย
ชุดหม้อห้อมเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่